ศักยภาพคนและชุมชน

ศักยภาพคนและศักยภาพชุมชนภายใต้วิถีโหนด-นา-เล ของอำเภอสิงหนครและอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

 

ศักยภาพคน/ชุมชนดูได้จากการดำเนินชีวิตประจำวันในชุมชน และสามารถดูแลจัดการตนเองได้ เช่น ถ้าน้ำจะท่วมต้องเตรียมอาหาร หญ้าไว้ให้วัวการทำนา ควรมีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำนาในปีต่อไป  ไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ หรือการรวมกลุ่มเป็นกองทุนหมู่บ้าน ไปซื้อเมล็ดพันธุ์ แล้วนำมาให้ชาวบ้านซื้อเกิดการพูดคุยกัน รวมกลุ่มทำเป็นศูนย์เมล็ดพันธุ์ การทำนาหากทำตลอดปีอาจทำให้ต้นตาลก็ได้ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อต้นตาล เพราะน้ำมีมากเกินไป นอกจากนั้นปุ๋ยเคมีที่ใช้ทำนาซึ่งมีจำนวนมากก็อาจทำให้ต้นตาลตายได้

หนุนเสริมให้ความรู้คนพูดคุยกันกิจกรรมไม่ได้กำหนดมาก่อน ไม่มีแผน เวลาที่มีปัญหาจะต้องมีการประสานกันคุยกันแก้ปัญหาร่วมกัน เช่น เกิดโรคข้าวต้องประสานกันรวมกลุ่มพูดคุย

ส่วนกลุ่มที่ทำตาลโตนด ไม่ต้องหนุนเสริมศักยภาพ รายได้มากไม่พอขาย สอยลูกตาลเอายุมมาขาย ถุงละ 10 บาท ได้วันละ 100 ถุง รายได้ประมาณวันละ 1000 บาทน้ำตาลโตนด ปี๊บละ 1300 บาทและยังมีกิจกรรมอื่นอีก เช่น มีเวลาเลี้ยงวัว เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่

 

ศักยภาพคนและชุมชนตำบลรำแดง

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรำแดง ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่  25 หมู่ 3 บ้านรำแดง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาผู้นำกลุ่มชื่อนางเสาวลักษณ์ ทำน้ำส้มสายชูจุดเด่น เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100% มีสีเหลืองอ่อนของน้ำตาลโตนด มีความเปรี้ยวคงที่และรักษาความเปรี้ยวไว้ได้นาน 1-2 ปี โดยความเปรี้ยวไม่เปลี่ยน สะอาดถูกสุขอนามัยวิธีการทำคือนำน้ำตาลสดมาต้มให้เดือด นาน 30 นาที เทใส่โอ่งสะอาดพักไว้ให้เย็น ใส่ลูกแป้งเหล้าของ ว.ท. หมักนาน 7 วันได้แอลกอฮอล์ใส่โอ่งใหม่ ใส่หัวเชื้อน้ำส้ม หมักต่อไปอีก 40-45 วันนำน้ำส้มไปกรองปริมาณการผลิต 150-160 ขวด/วัน

กลุ่มกองทุนปุ๋ยเคมีเป็นธุรกิจขนาดเล็ก (SSEs) ผู้นำกลุ่มชื่อนายประวิงช่วยรักษ์สถานที่ตั้ง 17 หมู่ที่ 5 ตำบลรำแดง

 

ศักยภาพคนและชุมชนตำบลชิงโค

กิจกรรมการพัฒนาในตำบลส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากโครงการกองทุนหมู่บ้าน หรือ “กองทุนเงินล้าน” ที่เข้ามาตำบลชิงโคในช่วงปี 2544 ขณะเดียวกันก็มีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ “อสม.”โดยอสม. 4 อำเภอในคาบสมุทรสทิงพระได้มีการเชื่อมโยงกันเป็น “เครือข่ายคาบสมุทรสทิงพระ”ประกอบด้วยตัวแทนอสม.จากอำเภอระโนดกระแสสินธุ์สทิงพระและสิงหนครโดยมีการประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนงานพัฒนาต่างๆในชุมชนเนื่องจากเป็นคนที่มีจิตใจอาสาชาวบ้านให้ความเชื่อถือเพราะเข้าใจปัญหาต่างๆในชุมชนได้ดีและยกระดับการทำงานพัฒนาโดยกลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชนกองทุนสวัสดิการชุมชนและสภาองค์กรชุมชนที่มุ่งไปสู่การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนในหลากหลายมิติ

กลุ่มทำดอกไม้จันทน์ บ้านดีหลวง ตั้งอยู่หมู่ 9 ตำบลชิงโค ผู้นำกลุ่มนางลออ จันทร์หน

ใยบวบขัดผิวตั้งอยู่บ้านเลขที่ 27/1 ชิงโคท่าออก หมู่ 6 สงขลา-ระโนด ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา

ผลิตภัณฑ์ชุมชน

น้ำตาลโตนด หรือ น้ำผึ้งเหลวในพื้นที่ของตำบลชิงโค มีต้นตาลค่อนข้างมากจึงทำให้ประชาชนประกอบอาชีพขึ้นตาล เพื่อนำน้ำตาลมาเคี่ยวจนกลายเป็นน้ำตาลโตนดหรือน้ำผึ้งเหลว ซึ่งมีกลิ่นหอม หวาน มันพบได้ทุกหมู่บ้านในเขต อบต.และน้ำตาลโตนดที่นี่มีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงที่บ้านเพราะค่อนข้างมีชื่อเสียง

ขนมงาดำและงาขาวเป็นอีกสินค้าหนึ่งที่มีชื่อเพราะเป็นสินค้าที่ผลิตในตำบลชิงโค และมีการส่งจำหน่ายทั่วหลายจังหวัดรสชาติอร่อย ถูกหลักอนามัย และมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ขนมคอเป็ดเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่มีผู้ผลิตมากมายในเขต อบต.ชิงโคส่วนใหญ่จะทำเป็นกิจการในครอบครัว ซึงมีรสชาติ หอม หวาน กรอบ มันและที่สำคัญคือมีรสชาติอร่อยมาก มีจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง

กลุ่มผู้ผลิตของที่ระลึก ของชำร่วย จากเรซินไม้และวัสดุอื่น ๆ ซึ่งส่งขายไปยังที่ต่างๆ มากมาย ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดนอกจากนั้นกลุ่มผู้ผลิตได้ทำส่งขายยังประเทศญี่ปุ่น มาเลเซียสนใจสั่งทำหรือสั่งซื้อได้ที่กลุ่มผลิตของที่ระลึก หมู่ที่ 9 ตำบลชิงโคหรือติดต่อที่ อบต.ชิงโค

มะม่วงพิมเสนเป็นสินค้าหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับผู้คนในตำบลชิงโค

 

ศักยภาพของคน/ชุมชนตำบลท่าหิน

        ศักยภาพของคน/ชุมชนตำบลท่าหินอธิบายผ่านกลุ่มต่าง ๆ ที่ชาวบ้านรวมตัวกันก่อนตั้งขึ้น ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านดอกไม้จันทน์ กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีโหนด-นา-เล และศูนย์เรียนรู้วิถีโหนด-นา-เลตำบลท่าหินดังนี้

 w1

ศูนย์เรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล ตำบลท่าหิน นางพูนทรัพย์ ศรีชู บ้านเลขที่ 59 หมู่ 6

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 สิงหาคม 2557

 w2

ถ่ายรูปร่วมกับนางพูนทรัพย์ ศรีชู แกนนำศูนย์เรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล

 w3

ชาวบ้านเก็บลูกตาลโตนดไปขาย (ซ้าย)    นักศึกษา มทร.ทดลองทำบล็อกใส่น้ำตาลแว่น(ขวา)

 

ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด

w4

สมาชิกกลุ่มกำลังทำตาลโตนดเชื่อม

w5

น้ำผึ้งผงจากศูนย์เรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล ตำบลท่าหิน

w6

น้ำตาลแว่นจากตาลโตนด                                     สบู่จากตาลโตนด

w7

ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดที่ศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล

 

การเรียนรู้เพื่อสืบทอดวิถีโหนด-นา-เลผ่านศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนด-นา-เลตำบลท่าหิน

       คุณพูนทรัพย์  ศรีชู ประธานศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล รวมกลุ่มกันทำสบู่ตาลโตนด การให้ชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกเคี่ยวน้ำตาลผงมาส่ง เพื่อไว้ขาย ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ดีจากการขายน้ำผึ้งผงการเชิญชวนให้ชาวบ้านทำนาปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่และข้าวสังข์หยด และรับซื้อหลังจากเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ชุมชนหันมาผลิตข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้นคุณพูนทรัพย์  ศรีชู ยังเป็นผู้ประสานงานชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีโหนด-นา-เลตำบลท่าหินอีกด้วย

แรกเริ่มเดิมทีในช่วงปี 2541 คุณพูนทรัพย์ ศรีชู ได้รวมกลุ่มแม่บ้านหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เนื่องจากในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาที่เคยอยู่เริ่มมีปัญหาเรื่องการลดลงของสัตว์น้ำ การผลิตข้าวและตาลโตนดมีราคาตกต่ำ ขณะเดียวกันคนในชุมชนก็เริ่มเข้าเมืองเพื่อหางานทำโดยเฉพาะหนุ่มสาววัยแรงงาน ได้เข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงได้พยายามรวมกลุ่มกันทำดอกไม้จันทน์ มีรายได้เข้ากลุ่มประมาณ 3,000-4,000 บาท

หลังจากนั้นในปี 2544 ได้ก่อตั้งชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีโหนด-นา-เล และได้มีการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากตาลโตนดเมื่อปี 2553 โดยมีมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้ามาช่วยดูแลทำวิจัย ในเรื่องคุณสมบัติของเนื้อตาลโตนดที่จะนำมาทำสบู่ ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในเรื่องการบรรจุภัณฑ์

ปี 2556-2558 มีนักเรียนนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้วิถีโหนด-นา-เลจากศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนแห่งนี้ ซึ่งสมาชิกกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการให้ความรู้ในเรื่องของวิถีโหนด วิถีนา และวิถีเลโดยให้ความรู้เป็นฐานเช่น ฐานการดำนา ฐานการขึ้นตาลโตนด ฐานทำขนมจาก ฐานการทำน้ำตาลแว่น ฐานการทำสบู่

w8

ภาพนักเรียนโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ หาดใหญ่เรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล

ที่ศูนย์เรียนรู้วิถีโหนด-นา-เลตำบลท่าหิน

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 ตุลาคม 2557

 w9

เรียนรู้ฐานการทำนา สอนวิธีการดำนาจากกลุ่มแกนนำชาวบ้าน

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 ตุลาคม 2557

 w10

ถ่ายรูปร่วมกับทีมวิจัยและคุณพูนทรัพย์  ศรีชู หลังจากที่สาธิตวิธีการดำนาให้นักเรียน

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 ตุลาคม 2557

 w12

w11

ฐานสาธิตการขึ้นตาลโตนดเพื่อนำน้ำตาลสดลงมาจากต้น

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 ตุลาคม 2557

 w13

ฐานการทำน้ำตาลแว่น

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 ตุลาคม 2557

 w14

ฐานการทำสบู่จากตาลโตนด

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 ตุลาคม 2557

w15

ฐานการทำสบู่จากตาลโตนด

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 ตุลาคม 2557

 w16

ฐานทำขนมพื้นบ้าน ขนมจาก ลองทำเองชิมฝีมือตนเอง

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 31 ตุลาคม 2557

 

ศักยภาพคน/ชุมชนตำบลจะทิ้งพระ

 

ศักยภาพของคน/ชุมชนตำบลจะทิ้งพระมีหลากหลายกลุ่ม ดังนี้

       กลุ่มโหนดทิ้ง

กลุ่มโหนดทิ้งก่อตั้งโดยนายพีระศักดิ์ หนูเพชร อยู่บ้านเลขที่ 15 หมู่ที่ 4 ถนนสงขลา-ระโนด ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา  หมายเลขโทรศัพท์  081-6092863   093-9422658   ในปี 2527 สอ. สุทิน หนู เพชร ได้นำเส้นใยตาลโตนด มาจักสานและทักทอเป็นงานหัตกรรม เช่น หมวก กล่องทิชชู กระเป๋า ได้ทำการเผยแพร่ความรู้ในด้านนี้ให้กับสมาชิกในชุมชนอำเภอสทิงพระจนถึงอำเภอ ระโนด และกระแสสินธุ์ จนหัตกรรมด้านนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายออกไป แต่เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการผลิตยังไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร ทำให้การผลิตสินค้าได้ล่าช้าไม่ทันต่อความต้องการ สินค้ามีราคาสูง ไม่มีการวางแผนด้านการตลาด ทำให้สมาชิกมีรายได้น้อย ประกอบกับในช่วงนั้นได้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ในตัวจังหวัดสงขลา สมาชิกในกลุ่มหันไปใช้แรงในโรงงานมากขึ้น เพราะมีรายได้ดีกว่า จึงทำให้กลุ่มหัตกรรมใยตาลของ สอ. สุทิน หนูเพชร หยุดไป

w17

นายบัณฑิต หนูเพชร ประธานกลุ่มโหนดทิ้งคนปัจจุบัน และแรงงานรับจ้างรายวันประกอบกระเป๋า

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่  20 พฤศจิกายน 2557

w18

เส้นใยตาล  และกระเป๋าจากใยตาล

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่  20 พฤศจิกายน 2557

 w19

นวัตกรรมเครื่องตีเส้นใย   กระเป๋ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบ่อใหม่

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่  20 พฤศจิกายน 2557

 

ต่อมาในปี 2544 นางเสริญศิริ หนูเพชร ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาด้านหัตกรรมใยตาลจาก สอ. สุทิน หนูเพชร ได้เริ่มนำใยตาลโตนดมาทำเป็นงานหัตกรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยทำอยู่ที่บ้าน เมื่อผลิตได้มากขึ้น สามารถนำออกจำหน่ายได้จนเป็นที่นิยม  ประกอบกับในช่วงดังกล่าว รัฐบาลกำลังส่งเสริมสินค้าที่เป็นงานด้านหัตกรรมมากขึ้น นางเสริญศิริ จึงได้ชักชวน ชาวบ้าน รวมเป็นกลุ่มหัตกรรมใยตาลบ้านบ่อใหม่ ขึ้นโดยที่ทำการกลุ่มตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 7 บ้านบ่อใหม่ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีสมาชิกเริ่มแรก ประมาณ 4-5 คน สามารถร่วมกันผลิต ชิ้นงานหัตถกรรมใหม่ออกมาจนเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมจากจากผู้บริโภค จึงมีสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มมากขึ้น ทั้งหมด 35 คน ต่อมาในปี 2545 ทางกลุ่มฯ ได้ออกแบบเครื่องทอเส้นใย และทำแบบหุ่นออกมาเหมือนกัน แล้วเอามาแปรรูปเป็นกระเป๋า และผลิตภัณฑ์ อื่น ๆ อีกมากมายหลายแบบซึ่งบางแบบใช้ประกอบด้วย ไม้ หนัง หรือผ้า ต่อมาจึงได้คิดนำใบตาลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระเป๋า โคมไฟ ที่รองจาน และอื่นๆ อีกมากมายฯ

การเอาเส้นใยจากใบตาล ในการตัดกาบตาลจะต้องเลือกเอากาบของต้นตาลหนุ่มที่มีความสมบรูณ์เต็มที่ ตาลหนุ่มจะมีอายุประมาณ 5-15 ปี ซึ่งสูงประมาณ 1-5 เมตร ต้นตาลหนุ่มที่มีความสมบูรณ์จะให้เส้นใยได้มาก เป็นเส้นใยที่มีความยาวไม่แก่หรือไม่อ่อนจนเกินไป และมีสีถึง 3สีคือเส้นใยสีดำอยู่บริเวณส่วนหลังของกาบ (ด้านที่กาบโค้งลงซึ่งผิวกาบเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล) เส้นใยมีสีน้ำตาลอยู่ถัดมากลางๆ กาบ และเส้นใยสีขาวอยู่บริเวณด้านหน้ากาบ (ด้านที่กาบโค้งขึ้น ซึ่งผิวกาบเป็นสีขาวหรือขาวแกมเหลืองอ่อน) นอกจากจะดูอายุและความสมบรูณ์ของต้นตาลแล้ว เมื่อจะตัดเอากาบก็ต้องดูความสมบรูณ์ของแต่ละกาบเป็นพิเศษด้วย โดยพิจารณาถึงความใหญ่และยาวของกาบเป็นสำคัญ ต้นตาลต้นหนึ่ง ๆ จะตัดกาบที่สวย ๆ เหมาะจะเอาเส้นใยได้ประมาณ 1.5-2.5 ฟุต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของกาบดังกล่าว

หลังจากที่ คุณเสริญศิริ หนูเพชร ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาในตอนแรกได้เริ่มทำหมวกและกล่องใส่กระดาษ ในช่วงปี 2545 – 2546 ได้มีการนำใบตาลมาสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ หลังจากที่ผลิตภัณฑ์จากใยตาลมีข้อจำกัดอยู่บางประการคือ ความสามารถในการผลิตทำได้ช้าราคาค่อนข้างสูงทางกลุ่มจึงได้นำใบตาลมาสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ และตอนหลังได้มีการผลิตเพิ่มอีกหลายรูปแบบ

เมื่อได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบตาลได้รับการต้อนรับจากตลาดอย่างดีจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากใยตาลต่อเป็นกระเป๋าและของชำร่วย รูปแบบกระเป๋าใยตาลแบบต่าง ๆ รูปแบบโคมไฟใยตาลและโคมไฟใบตาล กระเป๋าใยตาลประกอบโลหะ กระเป๋าใยตาลประกอบโครงไม้ตาล กระเป๋าใยตาลประกอบหนังแท้ ประเป๋าใยตาลถัก หมวกใยตาลถัก โคมไฟใยตาล กล่องทิชชู่ กล่องเอนกประสงค์จากใยตาล

 

        ศูนย์การเรียนรู้“ภูมิปัญญาชาวบก

เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีครูไพฑูรย์ ศิริรักษ์ และครูถนอม ศิริรักษ์ เป็นผู้นำกลุ่ม ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 7 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาตั้งขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเน้นการใช้ทุนทางธรรมชาติ การเกษตรในวิถีชีวิตของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับโหนด-นา-เล ของคนบนคาบสมุทรสทิงพระ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชน “ชาวบก” ที่สั่งสม และสืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน นอกจากนั้นยังร่วมกันแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของท้องถิ่น ให้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค โดยยึดหลักภูมิปัญญาไทย“เศรษฐกิจแบบพอเพียง” โดยวัตถุประสงค์เพื่อใช้ภูมิปัญญาของชุมชนเป็นหลัก เป็นการพึ่งพิงพึ่งพากันให้ชุมชนร่วมลงทุน ร่วมเป็นเจ้าของ และร่วมดำเนินการ ผลิตโดยใช้ทุนของชุมชน และทรัพยากรของชุมชนเป็นฐาน  สามารถบูรณาการใช้กับชีวิตจริง หยิบยกภูมิปัญญา พัฒนาด้วยหลักวิชาการ มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญ ก้าวสู่การสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมชุมชน

w20

ผลิตภัณฑ์ชุมชนสบู่จากตาลโตนด สบู่จากถ่าน แชมพูสมุนไพร

 w21

ถ่ายรูปกับครูไพฑูรย์ ศิริรักษ์ ที่งานวันลูกโหนด ที่เต็นท์แสดงสินค้า

ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 15 มิถุนายน 2558

 w22

w23

       ครูถนอม ศิริรักษ์ข้าวยำบูดู ครูภูมิปัญญาไทย

ครูถนอม ศิริรักษ์ กับผลิตภัณฑ์ข้าวยำน้ำบูดู ในวันเขียนแผนที่ความมั่นคงทางอาหาร

ที่มา: ถ่ายโดยผู้วิจัยวันที่ 27 กรกฎาคม 2558

การถ่ายทอดความรู้ของครูถนอม ศิริรักษ์ ได้ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ ทำน้ำปลาจากน้ำบูดู  ทำข้าวยำจากน้ำบูดูสูตรดั้งเดิม ให้แก่สมาชิก และกลุ่มแม่บ้านจากชุมชนต่างๆ เพื่อนำไปใช้เองในครัวเรือน และผู้ประกอบการจนเกิดโรงงานอุตสาหกรรมน้ำปลาในภาคใต้ประมาณ 100 กว่าแห่ง ล้วนแล้วแต่นำสูตรของครูถนอมไปแปรรูปทั้งสิ้น สร้างรายได้ให้กับโรงงาน โดยขยายได้วันละประมาณ 10,000 ขวด ทั่วภาคใต้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้นำความรู้มาเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและการประกอบอาชีพ โดยให้ปฏิบัติต่อจนสามารถทำเองได้นอกจากนี้ยังถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียนในระบบ ซึ่งสถาบันการศึกษาบางแห่งตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้นำความรู้ดังกล่าวไปจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น

 

ศักยภาพคน/ชุมชนตำบลม่วงงาม

พื้นที่ตำบลม่วงงามมีส่วนหนึ่งที่พื้นที่ติดทะเล ชาวบ้านจะทำประมงและมีกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทรัพยากรสัตว์น้ำ ส่วนพื้นที่ทำนาขึ้นตาลโตนดและทำไร่นาสวนผสมจะเป็นกลุ่มที่ปลูกข้าวอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด กลุ่มปลูกพืชผัก และกลุ่มเลี้ยงสัตว์โดยแบ่งออกเป็นดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านปะโอ กลุ่มพืชผักสวนครัว กลุ่มทำนาบ้านปะโอ กลุ่มข้าวสังข์หยด กลุ่มไข่เค็มบ้านปะโอ โดยมีกำนันรำพัน  อินคง เป็นประธานกลุ่ม

กลุ่มไข่เค็ม คุณนิรมล ราชพล เป็นประธานกลุ่ม บ้านเลขที่ 71/3 หมู่ 1 ตำบลม่วงงาม สมาชิก 7-8 คน เมื่อก่อนเลี้ยงเป็ดในคอกเอง 2,000 ตัว ปัจจุบันรับไข่เป็ดจากข้างบ้านมาทำไข่เค็ม กลุ่มข้าวยำบูดู น้ำยาเอนกประสงค์  กลุ่มข้าวสังขหยด คุณสุณีย์พันธอุบล บ้านเลขที่ 63/1 หมู่ 1 ตำบลม่วงงาม กลุ่มทำนา คุณวิจิต ห้องโสภา สมาชิก 120 คน กลุ่มพืชผักสวนครัว ร.ท.อุดม  วิบูลย์กิจ เป็นประธานกลุ่ม บ้านเลขที่ 84 หมู่ 1 ตำบลม่วงงาม

3-1

กลุ่มไข่ครอบ                                      กลุ่มไข่เค็ม

กลุ่มเลี้ยงวัวบ้านปะโอ นางสมนึก อินทเจริญ เป็นประธานกลุ่ม อยู่บ้านเลขที่ 65 หมู่ 1 ตำบลม่วงงาม สมาชิก 47 คน ปี 2557 เดิมมี 25 คน โดยมีพันธุ์โคดังนี้ โคเนื้อแองกัส ของนางลัดดา อินทคง และนายเจริญ อินทคง  โคเนื้อบาร์มันแดง กำนันรำพัน อินทคง  โคเนื้อชาร์โลเลส์ นางสมบูรณ์  วิบูลย์กิจ  โคเนื้อมันขาว  นางสมนึก  อินทเจริญ

3-2

กลุ่มเลี้ยงวัวบ้านปะโอ

หมู่ที่ 2 กลุ่มนกกระทาทอด ไข่นกกระทาบรรจุถุง ถุงละ 55 บาท โดยจะเป็นการรวมตัวของชาวบ้านตั้งเป็นกลุ่มเลี้ยงไก่นกกระทา บ้านบ่อเตี้ย หมู่ 2 ประธานกลุ่มคือนายสุนทร นิยมยาตรา อยู่บ้านเลขที่ 67/1 หมู่ 2 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

3-3

กลุ่มไข่นกกระทาหมู่ 2

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 29 กรกฎาคม 2558

หมู่ที่ 3 กลุ่มปลาหวานโอท็อป เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำประมงทะเลอ่าวไทย ประธานกลุ่มคือ นางมิอ๊ะ  ราชพิทักษ์  บ้านเลขที่ 84/4 หมู่ 3 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาส่วนกลุ่มกะปิแท้ม่วงงาม (กุ้งเคย) ประธานกลุ่มคือนางยูไหว อุมา อยู่บ้านเลขที่ 92/2 หมู่ 3 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

3-4

กลุ่มกะปิแท้ม่วงงาม และปลาหวานโอท็อป หมู่ 3

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 29 กรกฎาคม 2558

หมู่ที่ 4 บ้านสุเหร่าเก่า กลุ่มเครื่องแกง ประธานกลุ่มคือนางสุไหวย๊ะหัตถประดิษฐ์  อยู่บ้านเลขที่  50/2  หมู่  4  ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

หมู่ที่ 5 บ้านประตูเขียน กลุ่มปลูกผัก ได้แก่ มะนาว มะเขือ ฟักทอง กระจับ พริก กลุ่มไร่นาสวนผสม ตาลโตนด ลูกตาลลอยแก้ว น้ำส้มโหนด ประธานกลุ่มเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5  สมาชิก 20 คน ผู้ใหญ่บ้านปัญจพล  อนันตะ

หมู่ 6 บ้านม่วงงามล่าง มีกลุ่มจักสาน กระเป๋าจากตอกไม้ไผ่ กระเป๋าพลาสติก เลี้ยงเป็ดไข่ ทำไร่นาสวนผสม ได้แก่ ปลูกข้าว ข้าวโพด กล้วย หน่อไม้ ผู้ใหญ่บ้านณรงค์ชัย บัวปลอด เป็นประธานกลุ่ม

หมู่ที่ 7 บ้านม่วงงามบน กลุ่มน้ำนมข้าวโพด ประธานกลุ่มชื่อนางอมรา  รสิตานนท์ บ้านเลขที่ 26/2 หมู่ 7 ตำบลม่วงงาม มีสมาชิก 10 แปรรูปจากข้าวโพดเป็นน้ำนมข้าวโพด มีสมาชิกที่ปลูกข้าวโพด 30 คน

3-5

กลุ่มน้ำนมข้าวโพด

ที่มา: ถ่ายโดยผู้วิจัยวันที่ 29 กรกฎาคม 2558

หมู่ 8 บ้านม่วงพุ่ม มีกลุ่มขนมลูกตาลกรอบทำจากจาวตาล มีคุณชุติมา จันทร์เส้งเป็นประธาน อยู่บ้านเลขที่ 99/1 หมู่ 8 บ้านม่วงพุ่ม ตำบลม่วงงาม

หมู่ 9 บ้านเสื้อเมืองบน ปลูกมะเขือ พริก มะเขือยาว ผักบุ้ง ส้มจิ๊ด ลำไย ปลูกที่บ้านนายเสริม จิตต์ภักดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

3-6

หมู่ 10 บ้านมะขามคลาน มีกลุ่มเห็ดนางฟ้า ผู้ใหญ่บ้านจรรยา บูรณะเป็นประธาน บ้านเลขที่ 94/1 หมู่ 10  มีสมาชิก 120 ครัวเรือน มีกลุ่มทำนา ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน มีสมาชิก 120 ครัวเรือนเช่นกัน กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี นายทนู จุลมณีโชติเป็นประธานกลุ่ม อยู่บ้านเลขที่ 105/1

ศักยภาพคน/ชุมชนตำบลสนามชัย

กานดา กาลวงศ์ อยู่บ้านเลขที่ 83/1 หมู่ที่ 3 ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาเป็นบุคคลที่มีความรู้เรื่องไร่นาสวนผสมและขั้นตอนการทำไร่นาสวนผสมและเป็นผู้ที่นำวิถีชีวิตแบบพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและสามารถอนุรักษ์ธรรมชาติโดยการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดามารดาซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรมที่สามารถพึ่งพาตัวเองและครอบครัวได้ นางสาวกานดา สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติขึ้นมาใช้เองได้ ซึ่งใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดำรงชีวิตจนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในเรื่องของการทำการเกษตร

ศักยภาพคน/ชุมชนตำบลกระดังงา

อุทัย แซ่เจ่น อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 7 ต.กระดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา มีความคิดริเริ่มและความพยายามในการทำเกษตรแบบไร่นาสวนผสม กว่า 100 ไร่ ปลูกพืชหลัก คือ มะเขือมัน พันธุ์ราชินี ฟักทอง ฟักเขียว ปาล์มน้ำมัน ทำนาข้าว และเลี้ยงหมู รวมทั้งปลูกผักแซมตามร่องสวน ที่มีพื้นที่ดินว่าง และเลี้ยงปลา  โดยเอาขี้หมูมาใส่ต้นปาล์ม และเอาลูกปาล์มไปให้ลูกหมูกิน ได้แบ่งพื้นที่ทำนาเป็น 40 – 50 ไร่ ปลูกปาล์ม 100 ไร่

4-2

4-1

แกนนำร่วมแสดงความคิดเห็นในการเขียนแผนที่ความมั่นคงทางอาหาร

4-3

แกนนำร่วมแสดงความคิดเห็นในการเขียนแผนที่ความมั่นคงทางอาหาร

4-4

แกนนำตำบลชะแล้กลุ่มธรรมนูญสุขภาพชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป่าชายเลน

ศักยภาพของคน/ชุมชนในวิถีเล
       กลุ่มฟาร์มทะเลพื้นที่ท่าเสา บ่อปาบสทิงหม้อ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร

พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระแวดล้อมไปด้วยทะเลสาบสงขลา และทะเลอ่าวไทย  เมื่อกล่าวถึงทะเลสาบสงขลาพบว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มีศักยภาพในการผลิตสัตว์น้ำและการรองรับการบริโภคของผู้คนที่อาศัยอยู่รอบทะเลสาบสงขลา มีการใช้พื้นที่ของทะเลสาบในกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การทำประมง โดยใช้เครื่องมือหลากหลายชนิด เช่น ไซนั่ง อวน เบ็ด และโพงพาง ปัจจุบันทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองเพราะเครื่องมือประมงที่ผิดประเภททำให้เกิดการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ รวมถึงสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังไม่เจริญพันธุ์  “ฟาร์มทะเล” จึงเป็นโครงการหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลา เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำที่กำลังลดปริมาณลง ผลจากการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์และงดการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนในพื้นที่ฟาร์มทะเลเป็นผลทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเริ่มกลับมามีจำนวนมากขึ้น กล่าวได้ว่า เมื่อพื้นที่ใดมีความอุดมสมบูรณ์ด้านอาหารและปลอดภัยต่อชีวิต สัตว์น้ำเหล่านั้นต่างก็ต้องการเข้ามาใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเหล่านั้นรอดตาย เจริญเติบโตได้ดี และมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น (สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา, 2555)

ฟาร์มทะเล หมายถึง เขตพื้นที่อนุรักษ์และห้ามจับทรัพยากรสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ มีการกำหนดแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์โดยใช้ไม้ไผ่ปักล้อมรอบเพื่อบ่งบอกอาณาเขตพื้นที่ฟาร์มทะเล ชุมชนเป็นผู้กำหนดกฎกติกาในการจัดการและดูแลฟาร์มทะเลของชุมชน

การทำฟาร์มทะเล จะมี 2 รูปแบบ คือ (1) Sea Farming เป็นการทำฟาร์มทะเลแบบเลี้ยงในที่กักขังและมีอาหารให้ เช่น การเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังหรือคอก (2) Sea ranching เป็นการทำฟาร์มทะเลแบบเลี้ยงไม่มีที่กักขัง ไม่มีการให้อาหาร หรือที่เรียกว่า “ปศุสัตว์ทะเล” ซึ่งในแบบแรก “Sea Framing” จะเป็นรูปแบบหนึ่งของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบพัฒนาที่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบทำอาหารจากปลาที่ได้จากการจับจากทะเล หรืออาหารสำเร็จรูปที่ต้องใช้ปลาป่น ซึ่งต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นในขณะที่ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ส่วนแบบที่ 2 เป็นแบบ “Sea ranching” เป็นรูปแบบการทำฟาร์มทะเลที่ผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำให้ได้จำนวนมากและอนุบาลไว้สักระยะ จนถึงระยะที่เหมาะสมจึงปล่อยออกสู่ทะเล แล้วปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ เมื่อสัตว์น้ำเหล่านั้นโตเต็มที่จึงค่อยเก็บเกี่ยวจากแหล่งธรรมชาตินั้น การทำฟาร์มทะเลที่ดีควรนำความรู้ด้านนิเวศวิทยา การทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับธรรมชาติของท้องทะเล ฤดูกาล นิสัย และประเภทของสัตว์น้ำ (นิรุทธ์ สุขเกษม, 2551)

ฟาร์มทะเลที่จัดทำโดยชุมชนเพื่อชุมชน ได้แก่ ตำบลท่าเสา หมู่ 1 และหมู่ 2  ตำบลป่าขาด หมู่ 1, 2, 4 และหมู่ 5 สำหรับชาวบ้านในชุมชนบ้านท่าเสา หมู่ 2 ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา รวมตัวตั้งกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำเขตฟาร์มทะเล โดยการวางซุ้ม หรือซั้ง ซึ่งนำกิ่งไม้ไปปักไว้เป็นวงกลม จำนวน 16 จุด ในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา เนื้อที่ 283 ไร่ และกันเป็นเขตฟาร์มสัตว์น้ำชุมชนบ้านท่าเสา เพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัย และขยายพันธุ์สัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา และห้ามทำการประมงจับสัตว์น้ำทุกชนิด

4-5

ฟาร์มทะเลตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

 4-6

ฟาร์มทะเลท่าเสา ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

 4-7

ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนสทิงหม้อ โรงเรียนวัดบ่อปาบ

ที่มา: ถ่ายโดยคณะผู้วิจัยวันที่ 2 กรกฎาคม 2558

การทำประมงทะเลอ่าวไทย

ส่วนในทะเลฝั่งอ่าวไทยการจับสัตว์น้ำมีเครื่องมือประมงทะเลพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีหลายประเภทและชนิด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการจับสัตว์น้ำของแต่ละพื้นที่ ในการศึกษาครั้งนี้จำแนกได้ 13 ประเภท 70 ชนิด ดังนี้ (ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง, 2553)

  1. ประเภทอวนล้อมจับ (surroundingnets) ได้แก่ อวนล้อมจับมีสายมาน อวนล้อมจับไม่มีสายมาน 2. ประเภทอวนกางกั้นแล้วลาก (seine nets) ได้แก่ อวนทับตลิ่งอวนกางกั้นอื่นๆ
  2. ประเภทอวนลาก (trawl nets) ได้แก่ อวนลากคู่ อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง
  3. ประเภทคราด (dredges) ได้แก่ คราดหอยลาย คราดหอยแครง คราดหอยอื่นๆ
  4. ประเภทอวนช้อน (lift nets) ได้แก่ อวนช้อนปลากะตัก อวนช้อนปลาจะระเม็ดดำ บาม จั่นปู ยอปู แร้วปู จั่นหอยหวาน สวิงช้อนแมงกะพรุน สวิงช้อนเคย สวิงช้อนลูกปลากะรัง สวิงช้อนหมึก สวิงช้อนปลากระบอก ยอยกปลา ยอยกเคย
  5. ประเภทอวนครอบ (falling nets) ได้แก่ อวนครอบหมึก อวนครอบปลากะตัก แหยักษ์ แหอื่นๆ 7. ประเภทอวนติด (gillnets and entangling nets) ได้แก่ อวนลอยปลาอินทรี อวนลอยปลากะพงขาว อวนลอยปลาจะระเม็ด อวนลอยปลากุเรา อวนลอยปลาทู อวนลอยปลาลัง อวนลอยปลาดาบลาว อวนลอยปลาเกล็ดขาว อวนลอยปลาหลังหิน อวนจมปลาเห็ดโคน อวนจมปลา อวนจมปู อวนจมกุ้ง อวนจมหมึกอวนจมปลากุ้งมังกร อวนปลากระบอก อวนปลาหลังเขียว อวนล้อมติดปลาทู อวนติดตาอื่น ๆ
  6. ประเภทอวนรุน (push nets) ได้แก่ อวนรุนใช้เรือกล อวนรุนไม่ใช้เรือกล
  7. ประเภทลอบ (pots, traps) ได้แก่ ลอบปลา ลอบหมึก ลอบกุ้ง ลอบปู ลอบหอย
  8. ประเภทโป๊ะ (pound net, set nets) ได้แก่ โป๊ะน้ำตื้น โป๊ะน้ำลึก
  9. ประเภทโพงพาง (set bag nets, stow net) ได้แก่  โพงพางประจำที่ โพงพางเคลื่อนที่
  10. ประเภทเบ็ด (hooks and line) ได้แก่ เบ็ดมือ เบ็ดลาก เบ็ดราว
  11. ประเภทเบ็ดเตล็ด (miscellaneous gears) ได้แก่ เฮียหอยกะพง สัปปะนก ขอขุดปูทะเล ไซธนู ฉมวก เรือผีหลอก (ปัจจุบันมีประมาณ 5 ลำ ซึ่งมีหลายลำที่เลิกไป เนื่องจากมีผลเสียต่อระบบนิเวศ)

 

เอกสารอ้างอิง

นิรุทธ์ สุขเกษม.  (2551).  การทำฟาร์มทะเล Sea framing-the sustainable fishery. วารสารสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง. (4), 1-3.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง. (2553). บทความน่ารู้: ประเภทและชนิดเครื่องมือประมงทะเลพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง. ค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558, จาก:http://www.fisheries.go.th/mf-smdec/max/index.php?name=story&file= readstory&id=14

สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา.  (2555).  ฟาร์มทะเลทางเลือกหนึ่งในการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา. ค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558, จาก:http://www.sklonline.com/seafarm1.html