กิจกรรมวิถีโหนด

วิถีตาลโตนดในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ

       ในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ผู้คนในพื้นที่รู้จักตาลโตนดมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย หลายคนคุ้นเคยกับต้นตาลโตนดตั้งแต่เล็กจนโตเห็นตาลโตนดยืนต้นอยู่หลายชั่วอายุคนมาแล้ว ต้นตาลโตนดให้ผลผลิตติดต่อกันถึง 80 ปีในอดีตผู้คนปลูกตาลโตนดเพื่อใช้แบ่งอาณาเขตของที่นาระหว่างนาของเรากับนาของเพื่อนบ้าน แต่ปัจจุบันตาลโตนดมีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ มีประโยชน์มากมายเหลือคณานับ ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ และมั่นคงก่อให้เกิดอาชีพหลากหลายในชุมชน ทั้งอาชีพโดยตรงและอาชีพเสริม ได้แก่ การเพาะเมล็ด จาวตาล อาชีพปาดตาล อาชีพทำน้ำตาลโตนด อาชีพขายน้ำตาลโตนด อาชีพเกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด เช่นน้ำผึ้งผง น้ำผึ้งเหลว น้ำตาลปึก น้ำตาลแว่นหรือขนมต่างๆ เช่นขนมตาล จาวตาลเชื่อม หัตถกรรมจากใยตาล ใบตาล ไม้ตาล เฟอร์นิเจอร์

       การนำต้นตาลมาใช้ทำเครื่องเรือน ก่อสร้าง ทำเชื้อเพลิง แปรรูปเป็นงานหัตถกรรมไม้ตาล  ทางตาล ใช้ทำรั้ว คอกสัตว์เลี้ยง เชื้อเพลิงเส้นใย ใช้ทำงานจักสาน ทำขะเน็ด (เชือก) ผูกพะอง ผูกเรือและผูกวัว ใสมัยก่อนไม่มีเชือกไนล่อน เส้นใยสีต่างๆที่ได้จากทางตาลอายุต่างกันเชือกควั่นจากใยตาลไม้ไผ่หรือใช้เย็บใบจากสำหรับมุงหลังคา ทำเก้าอี้ ใยตาลยังใช้ในงานหัตถกรรม เช่น ทำหมวก กระเป๋ากล่องทิชชู่ที่ครอบผมโคมไฟ ทำเชือก นอกจากนี้ยังนำใยตาลมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับประกอบอาชีพ เช่น เครื่องมือจับปลาส่วนใบตาลนำมาใช้ทำกระเป๋าสมัยก่อนนักเรียนนำมาใส่หนังสือและกระดานชนวนไปโรงเรียน กระเป๋าใบตาล ฝาชีใบตาลนำมาใช้ปิดอาหารกันแมลง ต่อมานิยมใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติก เพราะราคาถูกและหาได้ง่าย นอกจากนั้นยังพบว่าใบตาลใช้มุงหลังคา ทำเชื้อเพลิงเถ้าถ่านให้ธาตุโปรแตสเซื่ยม ลิ้นขลุ่ยและภาชนะต่าง ๆ ผลตาลใช้ผลอ่อนบริโภค ผลสุก ใช้เป็นอาหารของวัวและหมู ผลสุกคั้นน้ำ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสของขนม โดยเฉพาะขนมตาลเปลือกผลแห้งใช้ทำเชื้อเพลิง  เมล็ดตาลสุกนำมาเพาะเพื่อทำจาวตาล บริโภคทั้งสดและแปรรูป เมล็ดแก่แห้งใช้ทำถ่าน เปลือกหุ้มเมล็ดตากแห้งใช้ทำเชื้อเพลิง เมล็ดแห้งใช้ทำงานหัตถกรรมเพาะขยายพันธุ์ 

       น้ำตาลโตนดนำมาบริโภค ในรูปของน้ำตาลสดน้ำส้มสายชูหมักน้ำตาลเมา ที่เรียก หวาก หรือกระแช่เคี่ยวเป็นน้ำผึ้งเหลว(น้ำตาลเข้มข้น)สำหรับทำน้ำตาลปึกหรือน้ำตาลแว่น น้ำตาลผง ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(เหล้าพื้นบ้าน)รากใช้ต้มเป็นยารักษาโรคตานขโมย  ช่อดอกตัวผู้(งวง)ใช้ตากแห้งเป็นส่วนผสมยาบำรุงกำลังแก้เบาหวาน

n1

 

ภาพตาลโตนดสองข้างถนน ที่มา: ถ่ายโดยผู้วิจัยวันที่ 27 กรกฎาคม 2558

 

การขึ้นตาลโตนด

การเตรียมพร้อมทั้งอุปกรณ์และรถซาเล้งสำหรับเดินทางไปยังแหล่งตาลโตนด

n2

 

ขึ้นต้นตาลเพื่อนำน้ำตาลสดลงมาและต้องใส่เคี่ยมไว้ในกระบอก เพื่อรักษารสชาติของน้ำตาลโตนดไว้

n3

 

เตรียมตัวขึ้นต้นตาลโตนด โดยไต่ขึ้นไปตามพะอง

n4

ฟืนสำหรับเคี่ยวตาลโตนด

n5

มีดปาดตาล

n6

เตาใช้เคี่ยวตาลโตนด

n7

กระบอกสำหรับใส่น้ำตาลโตนด

n8

ได้น้ำตาลมาแล้วเอาไปทำเป็นน้ำผึ้ง ทำน้ำส้มโหนด

n9

เคี่ยวตาลโตนด   หลังจากเคี่ยวแล้วจะได้น้ำผึ้งเหลว

n10

เคี่ยวจนเป็นน้ำตาลก้อน

n11

ไหสำหรับทำน้ำส้มโหนด

n12

น้ำส้มโหนดที่พร้อมสำหรับการทำอาหาร

n13

สอยลูกตาลโตนดเพื่อนำผลตาลไปขาย   

n14

ลุงเตรียมไปขึ้นตาลเพื่อเอาน้ำตาลสด

n15

น้ำตาลแว่นจากตาลโตนด

n16

ตาลเชื่อม

n17

รถรับซื้อตาลโตนดในชุมชน

n18

นำลูกตาลโตนดมาใส่ถุงขายตามสถานที่ที่เป็นจุดขายสินค้าของชุมชน ถุงละประมาณ 35 บาท

n19

น้ำส้มโหนด

n20

ถ่านจากลูกตาลโตนด

n21

ไม้เคี่ยม

n22

สบู่จากตาลโตนด

 

n23

กิจกรรมงานวันลูกโหนด 14-20 มิถุนายน 2558

n24

n25

ออกร้านผลิตภัณฑ์จากโหนด-นา-เลในงานวันลูกโหนด ปี 2558

n26

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่ที่เขียนแผนที่ความมั่นคงทางอาหารที่วัดเชิงแส

n27

พูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ เทศบาลตำบลชะแล้

n28

เรียนรู้เรื่องธรรมนูญสุขภาพของชุมชนตำบลชะแล้จากกลุ่มแกนนำ

n29

ไวนิลให้ความรู้แก่เยาวชน และชุมชนอื่นของชุมชนชะแล้ เมื่อมีการเรียนรู้ในแต่ละฐาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *